วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประวัติปลากัดไทย


..........นับแต่การสร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัย การชนไก่ กัดปลา เป็นเกมการพนันที่ได้รับการจารึกว่า เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมาแต่โบราณ อันที่จริงแล้ว เกมกีฬาการกัดปลาของชาวไทยนั้น นอกจากปลากัดแล้วยังมีปลาอีกสองชนิด ที่นำมากัดแข่งขันกันคือ ปลาหัวตะกั่ว และปลาเข็ม แต่ก็ไม่แพร่หลาย ติดใจคนทั่วไปเหมือนปลากัด ทั้งนี้เนื่องมาจากสัตว์น้ำชนิดนี้นอกจากจะมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้เป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว ลีลาการต่อสู้ก็เต็มไปด้วย ชั้นเชิงและศิลปะ และเหนือสิ่งอื่นใดนักรบจิ๋วเหล่านี้จะสง่างามยิ่งในระยะเวลาที่เข้าต่อสู้ ความสวยงามตามธรรมชาติของปลากัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทำให้คนนิยม ปลาชนิดนี้จึงเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงสวยงามและนักกีฬาตัวโปรดของคนไทย

เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish

...@ชนิดพันธุ์ปลา@...












ปลากัดลูกทุ่ง
- ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้กัดแข่ง แต่กัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้ นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เป็นปลาที่หาง่ายตามทุ่งนา
ปลาลูกหม้อ
- มีลักษณะใหญ่กว่าปลากัดป่า กัดเก่งกว่า นิยมเพาะให้มีสีเดี่ยว เช่น น้ำเงิน แดง ม่วง น้ำตาล ฯลฯ
ปลากัดลูกผสม
- เป็นปลาที่ผสมระหว่าง ปลากัดป่ากับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี กัดเก่งมีความว่องไวแต่กัดสู้ปลากัดลูกหม้อไม่ได้เพราะมีความอดทนน้อยกว่า
ปลากัดจีน
- เป็นปลาพันธุ์สวยงามสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่น มีครีบยาวเป็นพวง มีหลากหลายสี
ปลากัดเขมร
- เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับ ปลากัดจีนเป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัตรในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยงอีกด้วย

...@ขั้นตอนการผสมพันธุ์@...

1เมื่อได้พ่อและแม่ปลาที่พร้อมผสมพันธุ์ อายุราวๆ 4-5 เดือน ถ้าจะให้ดีควรมีอายุ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะว่าปลาที่มีอายุน้อย จะมีขนาดตัวเล็ก จึงให้ปริมาณไข่ได้น้อยกว่าปลาที่มีอายุมาก
2 นำปลาตัวผู้และตัวเมีย มาวางเทียบคู่กัน ควรเป็นที่ๆเงียบพอสมควร เพื่อให้ปลามองกันได้อย่าง อิสระไม่ตกใจบ่อย ทำให้การเทียบคู่ผสมนั้นได้ผลไม่เต็มที่เท่าที่ควร การมองเห็นอย่างชัดเจนนี่เอง ทำให้ลูกปลาที่ออกมา มีลักษณะและสีสันคล้ายกับปลาตัวผู้ทุกประการ ส่วนระยะเวลาในการเทียบนั้น ** ผมแนะนำให้ว่า ควรมีระยะเวลาประมาณ 15 วัน เพราะเมื่อปลาตัวเมียมีไข่ที่สุกเต็มที่ และสมบูรณ์ ทำให้ลูกปลาที่ออกมาแข็งแรง และมีโอกาสรอดมากกว่า และที่สำคัญคือ อาหาร ควรให้ปลาตัวเมีย อย่างสม่ำเสมอ ไข่จะได้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ( *แล้วอย่าลืมปลาตัวผู้ด้วยนะครับ ไม่งั้น หิวแย่* )
3และเมื่อได้เวลา การผสมพันธุ์วางไข่ ก็นำปลาทั้งคู่มาใส่รวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้ ไม่ควรใช้ภาชนะ ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ที่ควรใช้ก็มี โหลแก้ว กะละมังพลาสติก อ่างดิน ยันกระทั่งอ่างซีเมนต์ แต่ไม่- ควรมีขนาดเกิน 1 ตารางเมตร ส่วนระดับน้ำก็ไม่ควรสูงเกิน 6 นิ้ว ราวๆ 3-4 นิ้ว ก็เป็นอันใช้ได้ 4. ควรหาแผ่นอะไรปิดซะหน่อย ( ก็เค้าจะทำธุระกัน ) ไม่งั้นมันจะตใจ และกินไข่ของมันเองจนหมด ทิ้งไว้เต็มที่ประมาณ 2 วัน จึงแยกเอาตัวเมียออกมาให้อาหาร ก่อนที่จะเป็นเหยื่อของพ่อปลา ซะ.... 5. ให้พ่อปลาดูแลลูกปลา ประมาณ 2 วัน ช่วงนี้ไม่ต้องให้พ่อปลากินอาหาร และรักษาปลาตัวเมียซะด้วย- น้ำผสมเกลือ เพื่อให้หางและครีบ งอกออกมาใหม่ ส่วนลูกปลาก็ทำการอนุบาลลูกปลากันต่อไป.......

...@การอนุบาลลูกปลา@...


1ลูกปลากัดที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะเกาะอยู่ที่หวอดแลังไม่ต้องการอาหาร เพราะมีถุงอาหารติดตัวมาด้วย ลูกปลาจะใช้ถุงอาหารนี้ระยะประมาณ 3-4 วัน ระยะนี้จึงไม่ต้องให้อาหาร สำหรับภาชนะที่เหมาะสมที่จะใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนที่ดีที่สุด ก็ในภาชนะที่ใช้ผสมพันธุ์นั่นแหละ แต่ถ้าเล็กเกินไป ควรย้ายไปใส่ใ२ภาชนะที่ใหญ่กว่า เพราะถ้าภาชนะเล็กเกินไป จะทำให้ลูกปลาแคระไม่โต........

2ระยะแรกของการให้อาหาร ควรให้ไข่แดงต้มสุก โดยนำไข่แดงต้มสุก ละลายในน้ำกรองผ่านกระชอนตาถี่ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำนมหยดกระจายให้ทั่ว ให้แค่วันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3-5 วันแล้วจึงเปลี่ยนเป็นไรน้ำและไรแดงที่ขนาดเล็ก

3เมื่อลูกปลามีอายุ 1 เดือน ผู้เลี้ยงก็สามารถแยกเพศปลาได้แล้ว เพื่อที่จะ คัดปลาที่จะนำไปเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ต่อไป......


โรคปลากัดและวิธีรักษา


...@โรคปลา@...
สำหรับโรคที่มักพบในปลาเลี้ยงทั่วๆ ไปก็ได้แก่
1.โรคจุดขาว
- จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
2.โรคสนิม
- โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัว
ต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว
3.โรคเชื้อรา
- โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้น
ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน
4.โรคราที่ปาก
- โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้
3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน
5.โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย
- โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา
1.โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน
6.โรคท้องมาร
- โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้น
ส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด
7.โรคตาโปน
- เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา
1.โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไป
อนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
8.โรคเชื้อแบคทีเรีย
- โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา
1.แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน
9.โรคกระเพาะลม
- โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบ
การรักษา
สำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียวครับ...!
10.โรคสีลำตัวซีด
- โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.เช่นเดียวกับการรักษาโรคจุดขาว
11.โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ)
- มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วืนาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที
12.โรคปลาตัวสั่น
- โรคนี้มีสาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิดจากในน้ำมีสารพิษ เช่น คลอรีนมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา
1.ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบ

โรคปลากัด

...@การสังเกตุโรคปลา@...
การสังเกตุโรคปลามีแนวทางง่ายๆดังนี้ คือ
1.การเคลื่อนไหว
- ว่ายน้ำหมุนไปรอบๆ อาจเป็นตามแนวดิ่งหรือแนวราบ ว่ายกระตุก ช้าบ้างเร็วบ้าง
อาการผิดปกตินี้อาจมีสาเหตุการรบกวนของปรสิต หรือบาดแผลบริเวณลำตัว
2.การเปลี่ยนแปลงสี
- ปลาที่มีสีซีดมักเป็นปลาที่ขาดความสมบูรณ์ ไม่แข็งแรง มีสาเหตูจากโรคหรือปรสิต
มีสารพิษในน้ำ เช่น คลอรีนมากไป รวมทั้งกรเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแสงสว่าง
3.การเปลี่ยนนิสัยการกินอาหาร
- มักเป็นเฉพาะปลาที่เปลี่ยนแปลงการกินอาหาร ทำให้ปลากินอาหารได้น้อย
หรือการย่อยไม่ปรกติ ทำให้บริเวณท้องจมลึก
4.การเจริญเติบโต
- สำหรับปลาที่มีการเจริญเติบโตช้าหรือเร็วผิดปกติ
อาจทำให้เกิดโรคง่ายกว่าปลาที่เจริญเติบโตตามปกติ
5.การเปลี่ยนแปลงลักษณะอื่นๆ
- เมื่อสังเกตุเห็นปลามีอาการเซื่องซึมไม่กินอาหาร ควรใส่เกลือ 0.5-1.0%
หรือใส่ฟอร์มาลิน 25-40 ส่วนในล้านส่วน นาน 24 ชั่วโมง เพื่อฆ่าปรสิตภายนอกก่อน